วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เที่ยวเมืองน่าน น่ารัก..น่ารัก

เที่ยวเมืองน่าน น่ารัก..น่ารัก

ใกล้หน้าหนาวแล้ว
เที่ยวน่านกันดีกว่า


คำขวัญ ประจำจังหวัดน่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

แต่จุดประสงค์หลักของการมาเมืองน่านครั้งนี้คือ....สักการะพระธาตุประจำปีเกิด ปีเถาะคะ  นั่นคือพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง (พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ) อยู่ที่ ตำบล ม่วงติ๊ด กิ่งอำเภอ ภูเพียง ห่างจากตัวเมืองน่าน 2 กิโลเมตร พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญมีอายุกว่า 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ22.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลวหมดทั้งองค์  


แต่จุดประสงค์รองลงมาคือ  ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อ  ปู่ม่าน-ย่าม่าน กระซิบรักบันลือโลก ที่วัดภูมินทร์
มาดูด้วยตาตัวเองจร้าาาาาาาาา
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่น ของ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่ ของหนุ่มสาวไตลื้อกำลัง


เอาหละ...มาเริ่มต้นกับการวางแผนเที่ยวน่านกัน
แผนที่การเดินทาง ไป จ.น่าน
              
ออกจากกรุงเทพใช้เส้นทางขึ้นเหนือ  ใช้ทางออกเข้าสู่ 347/อยุธยา/อ. บางปะหัน/ปทุมธานี/อ่างทอง   ตัดเข้าไปยัง ทางหลวงสายเอเชียหมายเลข 1  
 ตรงยาวเลยคร้าาาาา   สิงห์บุรี/ชัยนาท/อุทัยธานี/นครสวรรค์ 
ถึงตรงนี้ให้แยกขวาใช้ทาง 117 ผ่านอ.เก้าเลี้ยว/สามง่าม/ เข้าสู่พิษณุโลก/
อุตรดิตถ์ อ.เด่นชัย/อ.สูงเม่น/แพร่/น่านนนนนน ง่ะ  ถึงแล้วจร้า  
ใช้เวลารวมๆ  แวะๆ กินๆ แล้วก็ประมาณ 7ชั่วโมง นิดๆ คะ






เที่ยวเมืองน่าน by fondjang
แผนการเที่ยวเมืองน่าน

นี่คือแผนการเที่ยวของฝนวันนี้  เราเที่ยวแค่ในเมืองนะคะ เพราะมีเวลาแค่วันเดียว 
แต่ไม่ต้องกลัวคะ  แค่วันเดียวฝนจะพาเที่ยวให้จุใจเลยจร้าาาาาาาา

ฝนออกเดินทางของเช้าวันเสาร์ประมาณ9โมงเช้า ชิวๆ คะ ไม่รีบ ^o^  ขับรถเรื่อยๆ เมื่อยก็แวะ
ถึงน่านก็ประมาณ 4-5โมงเย็น   เข้าที่พักก่อนเลยจร้า  ขออาบน้ำให้หายเหนื่อย แล้วเดวเราออกไปหาอะไรอร่อยๆ กินกันนะ ^ ^
วันนี้ฝนจะพักที่นี่เลยคร้าาาา  "เฮือนม่วนใจ๋"  ที่พักน่ารักๆ  แนวโฮมสเตย์ บ้านเรือนไม้ เก่าได้อารมณ์  ราคาก็น่ารักๆ  350บาท/คืน เอง  เลิฟ ๆ   
เนื้อที่กว้างขวาง มีสนามหญ้า ที่จอดรถเพียบ  ไม่มีแอร์นะจ๊ะ  อากาศที่นี่เย็นอยู่แล้ว  
ห้องน้ำรวม สะอาดใช้ได้













เฮือนม่วนใจ๋
โฮมสเตย์สุดชิค
แผนที่ที่พักโฮมสเตย์เฮือนม่วนใจ๋ จ.น่าน





เอาหละ..อาบน้ำเรียบร้อย หิวแล้ว..ไปหาไรทานกันดีฝ่าาาาาาาาาาาา 
เย็นนี้เราเลือกที่จะทานเตี๋ยวร้อน  ขับรถเข้าไปในเมืองแถวๆ ถนนสุมนเทวราช  แถวๆ วัดหัวเวียงใต้ 
เตี๋ยวไร้เทียมทาน... เป็นก๋วยเตี๋ยวประมาณว่าต้มยำกระดูกหมู,  กระดูกอ่อน  อร่อยเหาะ!!! ^o^




ต่อด้วยขนมหวานๆ  บัวลอยไอติม!!  ร้านของหวานป้านิ่ม
อันนี้ก็...ฟิน ฝุด ฝุด
ร้านอยู่แยกเข้าเมือง ตรงข้ามวัดศรีพันต้น คะ  อยู่ริมถนน หาง่าย
เมนูแนะนำ...นี่เลย>>>ไอติมบัวลอย  สุดฟิน!!!




แผนที่ร้านขนมหวานป้านิ่ม แผนที่ร้านเตี๋ยวไร้เทียมทาน จ.น่าน
สำหรับคืนนี้...อิ่มอร่อย พุงกางแล้ว  และเพลียจากการเดินทางเล็กน้อย 
ขอกลับที่พักเพื่อพักผ่อนเอาแรงก่อนล่ะกันนะจ๊ะ  
แล้วพรุ่งนี้เราจะไปทำภาระกิจสำคัญสำหรับทริปนี้ 
 >>>>สักการะพระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ คือพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน นี่เอง


^o^..................................^o^

เช้านี้...ตื่นเช้าหน่อยล่ะกันเน๊อะ (คือปกตินางตื่น 9โมง  10โมง  เอิ๊ก..เอิ๊ก)
ไปเดินเล่นตลาด วิถีคนเมืองน่านนนนนน
ตลาดเช้าเมืองน่าน ตลาดสดตั้งจิตนุสรณ์อยู่ถนนตรงข้ามกับโรงแรมเทวราชและโรงแรมน่านฟ้า ตลาดเช้าเมืองน่านเป็นตลาดสดที่มีพ่อค้าแม่้ค้า วางของขายที่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีทั้งพืชผักสดๆ จากสวน ผลไม้ หรือแม้แต่มีกับข้าวสำเร็จ ที่มีข้าวเหนียวร้อน จิ้นปิ้ง(หมูปิ้ง) ตับปิ้ง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง หรือโจ๊กร้อนๆพร้อมปาท่องโก๋ ตลาดเช้าเืมืองน่านเริ่มตั้งแต่เวลา 04.00 - 07.00 น.
กิจกรรม : ทำบุญใส่บาตรยามเช้า เดินชมตลาดเช้าของพื้นเมืองน่าน 
ชิมอาหารพื้นบ้านมื้อเช้าขอคนเมืองน่าน






อิ่มแล้ว..ไปต่อเลยจร้าาาาาาา>>>>>  ทำภาระกิจสำคัญสำหรับทริปนี้ 
 >>>>สักการะพระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ คือพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน นี่เอง

ตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุพระจำปีเกิดของชาวล้านนา เชื่อว่าคนเกิดปีเถาะมีพระธาตุประจำปีเกิด คือ“พระธาตุแช่แห้ง” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ซึ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้งสักครั้ง เพื่อเป็นการเสริมบุญบารมีให้เกิดความเป็นสิริมงคลในชีวิต
       
       
วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ
ความเป็นมาของพระธาตุแช่แห้ง
       
       “พระธาตุแช่แห้ง” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราชและพระมเหสีที่มาสรงน้ำที่เดียวกับพระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง 7 ศอกไว้ด้านบน
 ต่อมาราวปีพ.ศ. 1896 สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวงที่สุโขทัย พระยาลือไทยจึงมอบพระธาตุ 7พระองค์ และพระพิมพ์คำ พระพิมพ์เงินอย่างละ 20 องค์ ให้พระยากานเมือง ซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง และพบพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุข้อมือข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมธาตุใหม่ และก่อพระเจดีย์เป็น “พระธาตุแช่แห้ง” คู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คนมากราบสักการะกัน
       
      
วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
 ปริศนาธรรมคำว่า “แช่แห้ง”
       
       หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมจึงชื่อว่า “พระธาตุแช่แห้ง” เพราะหากคิดตามความเป็นจริงคำว่าแช่ก็ควรจะต้องเปียก แต่แล้วทำไมจึงแห้ง ในเรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรม โดยอาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ครูภูมิปัญญาไทย โรงเรียนสตรีศรีน่าน ได้อธิบายให้ฟังว่า คำว่า “แช่แห้ง” เป็นคำที่นักปราชญ์ยกย่องให้เป็นมงคลนามยิ่ง เป็นประหนึ่งกุญแจที่จะไขปริศนาธรรมทั้งมวลจนดิ่งลึกเข้าสู่แดน สุญญตา คือความว่างจากตัวตน อันเป็นสุดยอดของอมฤตธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า “แช่แห้ง” จึงมีความหมายโดยนัยว่า ยอดคนหรือมหาบุรุษเท่านั้นที่จะทำตัวให้แห้งอยู่ในสภาวะแห่งความเปียกปอนของอวิชชา ความมืดบอด แห่งสรรพกิเลศตัณหาต่างๆ ที่มากมายยิ่งกว่าสายน้ำและมหาสมุทรทั้งหลายในโลกรวมกัน มนุษย์จะสามารถมีความสุขท่ามกลางทะเลแห่งความทุกข์ยากอันหมายถึงมหาวัฏฏสงสารได้อย่างไร


วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
แผนที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
ภาระกิจต่อไป >>>>  วัดภูมินทร์


วัดภูมินทร์
            เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2139  ต่อมาอีกประมาณ  300 ปี  มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4)  ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง  7 ปี
            ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ  เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่  2 ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว  ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่  4 องค์ หันพรพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประดับนั่งบนฐานซุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
            อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2      
            ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก  วิถีชีวิตตำสนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การท่อผ้าด้วยกี่ทอมือ  การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ     สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น 3 ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ 4 นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างเมืองน่าน
           หอไตรวัดภูมินทร์ ลักษณะ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิม เมื่อ 5 มีนาคม 2537 อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใดภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา


ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่น ของ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่ ของหนุ่มสาวไตลื้อกำลัง

คำกระซิบรัก ปู่ม่าน-ย่าม่าน

คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาขะลุ้ม จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา...

คำแปล
ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น


โรแมนติกจริงเชียว!!! ^o^




วัดพระธาตุช้างค้ำ

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมเรียกว่า “วัดหลวงกลางเวียง” หรือ “วัดช้างค้ำ” อยู่ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เลขที่ ๑๓ ถนนสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 โดยพญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในอดีต



>>>>><<<<<

>>>>><<<<<



เริ่มหิวอีกแล้ว  เที่ยงนี้หาอาหารเหนือๆ ทานกันดีกว่า
ร้านแซ่บยกกำลัง2
 บรรยากาศร่มรื่นใช่ได้เลย!!!

 อ่อมหมู!!!

 ลาบหมูคั่ว!!  แซ่บสุโค้ย



ชอบอันนี้ที่สุด....  ตำคะน้า!!!  แซ่บฝุด ฝุด


เสร็จสิ้นภาระกิจทุกๆ อย่าง ที่เมืองน่านนี้แล้ว 
สำหรับทริปนี้ ประทับใจสุดๆ  
รักเมืองน่านเลยคะ
^ ^



ขอบคุณประเทศไทย




วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไหว้หลวงพ่อโสธร และเที่ยวฉะเชิงเทรา 1วัน คุ้มๆ

วันนี้จะพาเที่ยวใกล้ๆ จร้าาาาาา .....ฉะเชิงเทรา
ไหว้พระพุทธโสธร วัดคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา


วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง
ตามตำนานเล่าว่า หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ มีรูปทรงสวยงามมาก ได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน
แต่เดิม หลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ มีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม พระพรหมคุณาภรณ์(จริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 [1]
การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ [1]
ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาล โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/



การเดินทาง ฝนเดินทางออกจากกรุงเทพคะ  ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ ทางหลวงหมายเลข7 จนถึง ประมาณ กม.ที่ 45-46  เลี้ยวซ้ายออกเส้นทางฉะเชิงเทรา  ขับตรงไปเรื่อยๆ   ถนน2เลน รถบรรทุกเยอะ ขับด้วยความระมัดระวังนะคะ ประมาณ 13กม  จะมีป้ายใหญ่บอกเลยคะ วัดพุทธโสธร ให้เลี้ยวขวา เข้าไปประมาณ 2กม. วัดจะอยู่ขวามือ   ถึงแล้ว!!   วัดโสธรวรารามวรวิหาร



หลังจากไหว้พระแล้ว เราก็จะเที่ยวสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คะ
วัดสมานรัตนาราม  พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุขขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 ลักษณะกึ่งนั่งนอนตะแคง โดยพระหัตถ์ซ้าย ถืองาที่ หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว โดยรอบฐานมีพระพิฆเนศ 32 ปาง ให้ได้ขอพรสักการะความหมาย ของ พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความ เศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ถือเป็นมหามงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่คู่ ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย














    




ขอบคุณประเทศไทย